โดย ภูเดช แสนสา
เจ้าผู้ครองนครใน “ล้านนาประเทศ” ช่วงเป็นประเทศราชของ “สยามประเทศ” หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า “เจ้าหลวง” ในมุมมองของสยามผู้เป็นเจ้าอธิราชถือว่าเป็น “เจ้าเมือง(เจ้าประเทศราช)”
ส่วนมุมมองของล้านนา รวมถึงในเมืองนครแพร่ถือว่าเป็น “กษัตริย์” ดังปรากฏพระนามแทนเจ้าหลวงนครแพร่แต่ละองค์ว่า “พระกระสัตราธิราช” หรือ “พระองค์สมเด็จพระบรมบัวพิตองค์เปนเจ้า”(เจ้าหลวงอินทวิไชยราชา)1 หรือ “องค์สมเด็จมหาราชหลวง” หรือ “สมเด็จพิมพิสารมหาราช”(เจ้าหลวงพิมพิสารราชา)2
แต่ทว่าเท่าที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เจ้าหลวงนครแพร่ยังมีความคลาดเคลื่อน ทั้งที่มาของต้นปฐมราชวงศ์ จำนวนองค์เจ้าหลวงที่ขึ้นครองนคร ลำดับการครองนคร ระยะเวลาที่ขึ้นครองนคร ตลอดจนถึงความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับเจ้าหลวงองค์ก่อนหน้า เนื่องจากข้อจำกัดด้านหลักฐานและในเมืองแพร่เพิ่งเริ่มค้นคว้าถึงเจ้าหลวงองค์ก่อนเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ เจ้าหลวงนครแพร่องค์สุดท้ายช่วงทศวรรษ ๒๕๒๐ เป็นต้นมา
ดังหนังสือที่ระลึกในคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรจังหวัดแพร่ ที่จังหวัดแพร่ทำขึ้น พ.ศ.๒๕๐๑ ก็กล่าวถึงเฉพาะเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์เพียงองค์เดียว และกล่าวว่าเจ้าผู้ครองนครแพร่สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน3 เหมือนเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง และเมืองนครลำพูน จนช่วงทศวรรษ ๒๕๒๐ เป็นต้นมา จึงมีการค้นคว้าเจ้าหลวงนครแพร่เพิ่มเติม ในช่วงเป็นประเทศราชของสยาม มีทั้งหมดจำนวน ๕ องค์ คือ
เจ้ามังไชย(พระยาศรีสุริยวงศ์) พ.ศ.๒๓๑๑ – ๒๓๕๓
เจ้าหลวงเทพวงศ์(เจ้าหลวงลิ้นตอง) พ.ศ.๒๓๖๑ – ๒๓๗๒
เจ้าหลวงอินต๊ะวิชัย พ.ศ.๒๓๗๓ – ๒๔๑๔
เจ้าหลวงพิมพิสาร พ.ศ.๒๔๑๕ – ๒๔๓๑
เจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ พ.ศ.๒๔๓๒ – ๒๔๔๕
พร้อมกับระบุว่าเจ้าหลวงเทพวงศ์ (เจ้าหลวงลิ้นตอง) เป็นราชบุตรของเจ้าฟ้าชายสาม เจ้าผู้ครองนครเชียงตุง ราชวงศ์มังราย ได้มาเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่4
และช่วง พ.ศ.๒๕๔๗ – ๒๕๕๐ ได้มีข้อสันนิษฐานใหม่ว่าเชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ไม่ได้มาจากเจ้าฟ้าชายสาม แต่สืบเชื้อสายมาจากพญาเชียงเลือ(เชียงเลอ) เจ้าเมืองแพร่เมื่อ พ.ศ.๒๑๐๖ และกล่าวว่าเป็นเชื้อสายรายวงศ์มังราย5 พร้อมกับมีการค้นคว้าเรียบเรียงเจ้าหลวงเมืองแพร่ในช่วงเป็นประเทศราชของสยามขึ้นใหม่ที่ใช้มาถึงปัจจุบันมีทั้งหมด ๖ องค์ดังนี้
และช่วง พ.ศ.๒๕๔๗ – ๒๕๕๐ ได้มีข้อสันนิษฐานใหม่ว่าเชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ไม่ได้มาจากเจ้าฟ้าชายสาม แต่สืบเชื้อสายมาจากพญาเชียงเลือ(เชียงเลอ) เจ้าเมืองแพร่เมื่อ พ.ศ.๒๑๐๖ และกล่าวว่าเป็นเชื้อสายรายวงศ์มังราย5 พร้อมกับมีการค้นคว้าเรียบเรียงเจ้าหลวงเมืองแพร่ในช่วงเป็นประเทศราชของสยามขึ้นใหม่ที่ใช้มาถึงปัจจุบันมีทั้งหมด ๖ องค์ดังนี้
(๑) เจ้าหลวงแสนซ้าย พ.ศ.๒๓๐๐ – ๒๓๑๐
(๒) เจ้าหลวงเมืองไจย พ.ศ.๒๓๓๓ – ๒๓๖๐
(๓) เจ้าหลวงอุปเสน พ.ศ.๒๓๖๑ – ๒๓๖๒
(๔) เจ้าหลวงอินทรวิไชย พ.ศ.๒๓๖๒ – ๒๓๙๓
(๕) เจ้าหลวงพิมพิสาร พ.ศ.๒๓๙๓ – ๒๔๓๒
(๖) เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ พ.ศ.๓๔๓๓ – ๒๔๔๕6
เมื่อได้ตรวจสอบกับเอกสารชั้นต้นต่างๆ ทั้งฝ่ายล้านนาและสยาม ก็พบว่ามีความคลาดเคลื่อนหลายประการดังกล่าวมาแล้วในข้างต้น
ดังนั้นผู้เขียนจึงทำการค้นคว้าวิพากษ์วิเคราะห์เกี่ยวกับเจ้าหลวงนครแพร่ขึ้นใหม่มาเป็นเบื้องต้น โดยเอกสารชิ้นสำคัญที่บันทึกถึงลำดับราชวงศ์เจ้าหลวงนครแพร่โดยตรงของล้านนาคือพับสาที่เก็บรักษาไว้วัดดอยจำค่าระบุว่า
ดังนั้นผู้เขียนจึงทำการค้นคว้าวิพากษ์วิเคราะห์เกี่ยวกับเจ้าหลวงนครแพร่ขึ้นใหม่มาเป็นเบื้องต้น โดยเอกสารชิ้นสำคัญที่บันทึกถึงลำดับราชวงศ์เจ้าหลวงนครแพร่โดยตรงของล้านนาคือพับสาที่เก็บรักษาไว้วัดดอยจำค่าระบุว่า
“จุลสักกราชได้ ๑๑๓๕ ตัว(พ.ศ.๒๓๑๖) ปีกดสี เจ้าหลวงลิ้นทองเสวยเมืองอยู่ได้ ๔๕ ปี(พ.ศ.๒๓๑๖ – ๒๓๕๙)เถิงสวัรคต ว่าง ๑ ปี(พ.ศ.๒๓๖๐) เจ้าหลวงอินทวิไชยผู้เปนลูกขึ้นแทนอยู่ได้ ๓๑ ปี(พ.ศ.๒๓๖๑ – ๒๓๙๒) ว่าง ๑ ปี(พ.ศ.๒๓๙๓) เจ้าหลวงพิมพิสารขึ้นแทนอยู่ได้ ๓๘ ปี(พ.ศ.๒๓๙๔ – ๒๔๓๒) ว่าง ๒ ปี(พ.ศ.๒๔๓๓ – ๒๔๓๔) เจ้าหัวหน้าเทพวงส์ตนเปนลูกขึ้นแทนอยู่ได้ ๑๐ ปี(พ.ศ.๒๔๓๕ – ๒๔๔๕) ปีเต่ายี จุลสักกราชได้ ๑๒๖๔ ตัว(พ.ศ.๒๔๔๕) เดือน ๑๐ แรม ๖ ฅ่ำ วัน ๖ เงี้ยวปลุ้นหนีปีนั้นแล้วแล รวมเจ้าหลวง ๔ ตนนี้กินเมือง ๑๒๙ ปี ว่างอยู่ ๕ ปี”7
ส่วนบันทึกสำคัญอีกชิ้นหนึ่งเป็นของสยามคือพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๔ กล่าวว่า
“...เมืองแพร่นั้น เมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์นั้น พระยาแสนซ้ายได้เป็นเจ้าเมือง ครั้นถึงแก่กรรมแล้วโปรดเกล้าฯ ตั้งพระเมืองใจบุตรพระยาแสนซ้ายเป็นพระยาแพร่ๆ ถึงแก่กรรมแล้วโปรดเกล้าฯ ตั้งพระอินทวิไชยบุตรพระเมืองใจเป็นพระยาแพร่ ครั้นถึงแก่กรรมแล้วพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ตั้งราชวงษ์พิมสารบุตรพระยาวังขวา มารดาเป็นน้องพระยาแพร่แสนซ้ายเป็นพระยาแพร่...”8
เอกสารทั้ง ๒ ฉบับต่างมีข้อจำกัดและความน่าเชื่อถือต่างกัน ฉบับพับสานั้นมีการบันทึกขึ้นภายหลังพ.ศ.๒๔๔๕ อาจบันทึกขึ้นจากเรื่องเล่าสืบต่อกันมา ดังนั้นแม้ให้รายละเอียดมากแต่ก็มีความคลาดเคลื่อนมากเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องที่ไกลออกไปในสมัยก่อนเจ้าหลวงพิมพิสารราชา ส่วนเอกสารพระราชพงศาวดารมีความแม่นยำมากกว่า เนื่องจากบันทึกจากศุภอักษรที่ทางเมืองนครแพร่ส่งลงไป เพื่อขอทางสยามรับรองแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครองค์ต่างๆ แต่ก็มีข้อจำกัดไม่ทราบปีที่แต่งตั้งและครองนครที่ชัดเจน ดังนั้นต้องทำการตรวจสอบกับหลักฐานอื่นๆ ทั้งฝ่ายล้านนาและสยามเพิ่มเติมอีก
เริ่มจากเจ้าหลวงองค์แรกในช่วงเป็นประเทศราชของสยาม คือ “พญามังไชย” ตามชื่อยศเจ้าเมืองแพร่ที่โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากกษัตริย์พม่าในยุคพม่าปกครอง ภายหลังได้เข้าสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้ากรุงธนบุรีใน พ.ศ.๒๓๑๓ พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งยศตามแบบสยามเป็น “พระยาศรีสุริยวงศ์”9
ส่วนเชื้อสายบรรพบุรุษของพญามังไชยนั้นไม่ปรากฏหลักฐาน ที่มีการเสนอว่าพญาเชียงเลือ(เชียงเลอ) ผู้ถูกส่งมาปกครองเมืองแพร่เมื่อ พ.ศ.๒๑๐๖ เป็นต้นตระกูลของเจ้าผู้ครองนครแพร่ ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นเชื้อสายเจ้านายในราชวงศ์มังรายแต่อย่างใด เดิมอาจเป็นเพียงขุนนางระดับ “เจ้าเมือง” หรือ “เจ้าพันนา” ที่ปกครองพันนาหนึ่งของเมืองเชียงใหม่เท่านั้น อีกทั้งในยุคพม่าปกครองมีการสับเปลี่ยนเจ้าเมืองหัวเมืองสำคัญต่างๆ อยู่เสมอเพื่อป้องกันการสั่งสมอำนาจ จึงเป็นไปได้น้อยมากที่พม่าจะปล่อยให้เชื้อสายของพญาเชียงเลือสืบทอดอำนาจกันปกครองเมืองแพร่มาจนถึงพญามังไชยกว่า ๒๐๐ ปี และที่กล่าวว่าพญามังไชยเป็นเชื้อสายพม่า แต่จากเอกสารบันทึกฝ่ายสยามระบุว่าพญามังไชยเป็น “คนลาว”(คนล้านนา, ไท ยวน)10 อีกทั้งคัมภีร์ใบลานที่จารขึ้นโดยพญามังไชยก็เป็นอักษรธรรมล้านนา พญามังไชยจึงเป็นขุนนางเชื้อสายไทยวน ที่กษัตริย์พม่าแต่งตั้งขึ้นเป็นเจ้าเมืองแพร่มาตั้งแต่ก่อน พ.ศ.๒๓๐๙
ส่วนเชื้อสายบรรพบุรุษของพญามังไชยนั้นไม่ปรากฏหลักฐาน ที่มีการเสนอว่าพญาเชียงเลือ(เชียงเลอ) ผู้ถูกส่งมาปกครองเมืองแพร่เมื่อ พ.ศ.๒๑๐๖ เป็นต้นตระกูลของเจ้าผู้ครองนครแพร่ ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นเชื้อสายเจ้านายในราชวงศ์มังรายแต่อย่างใด เดิมอาจเป็นเพียงขุนนางระดับ “เจ้าเมือง” หรือ “เจ้าพันนา” ที่ปกครองพันนาหนึ่งของเมืองเชียงใหม่เท่านั้น อีกทั้งในยุคพม่าปกครองมีการสับเปลี่ยนเจ้าเมืองหัวเมืองสำคัญต่างๆ อยู่เสมอเพื่อป้องกันการสั่งสมอำนาจ จึงเป็นไปได้น้อยมากที่พม่าจะปล่อยให้เชื้อสายของพญาเชียงเลือสืบทอดอำนาจกันปกครองเมืองแพร่มาจนถึงพญามังไชยกว่า ๒๐๐ ปี และที่กล่าวว่าพญามังไชยเป็นเชื้อสายพม่า แต่จากเอกสารบันทึกฝ่ายสยามระบุว่าพญามังไชยเป็น “คนลาว”(คนล้านนา, ไท ยวน)10 อีกทั้งคัมภีร์ใบลานที่จารขึ้นโดยพญามังไชยก็เป็นอักษรธรรมล้านนา พญามังไชยจึงเป็นขุนนางเชื้อสายไทยวน ที่กษัตริย์พม่าแต่งตั้งขึ้นเป็นเจ้าเมืองแพร่มาตั้งแต่ก่อน พ.ศ.๒๓๐๙
เมื่อสวามิภักดิ์กับกษัตริย์สยามจึงได้รับยศใหม่ใน พ.ศ.๒๓๑๓ จนกระทั่ง พ.ศ.๒๓๓๐ พญามังไชยได้ถูกนำตัวลงไปเฝ้ากษัตริย์สยามรัชกาลที่ ๑ ราชวงศ์จักรี จึงถูกกักตัวไว้ให้อยู่ที่กรุงเทพมหานคร สันนิษฐานว่าเนื่องจากรัชกาลที่ ๑ ทรงไม่ไว้วางพระทัยต่อพญามังไชยที่เคยเป็น(ข้าเก่า)ผู้สวามิภักดิ์ต่อพระเจ้ากรุงธนบุรีที่พระองค์เพิ่งได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แทน และพญามังไชยเคยยกกองทัพเมืองแพร่เข้าร่วมกับพม่ามาตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ อีกทั้งพญามังไชยพร้อมครอบครัวเคยไปอยู่เมืองอังวะกับกษัตริย์พม่าเป็นเวลานาน11 จากจารึกท้ายคัมภีร์ใบลานภวิรัตติจารโดยพญามังไชยถวายวัดหลวง เมืองนครแพร่ เมื่อพ.ศ.๒๓๔๒
“...ปีกัดเม็ด...ปญติว่าพระเมืองไชยลิขิตยามเมื่อสถิตอยู่ยังกุงเทพพระมหานครใหม่วันนั้นแล...”12
และคัมภีร์ใบลานเรื่องภิกขุปาฏิโมกข์จารโดยพญามังไชยได้นำขึ้นมาถวายวัดศรีชุม เมืองนครแพร่ เมื่อพ.ศ.๒๓๔๓
“...สระเด็จแล้วจุลสักกราชได้พันร้อยหกสิบสองตัว สนำกัมโพชภิไสยไทภาสาว่าปีกดสัน เดือนสิบเอ็ดใต้ แรมเก้าฅ่ำ พร่ำว่าได้วันอาทิตย์ ยามแตรจักใกล้เที่ยงวัน...ตัวปาฏิโมกข์ผูกนี้สัทธามหาอุปาสักกะพระญาแพล่ ตนนามปญตินครไชยวงสา ได้ส้างเขียนไว้โชตกะวรพุทธสาสนายามเมื่อได้ลงมาสถิตอยู่ในเมืองกุงเทพพระมหานคอรใหม่วันนั้นแล ปิตตามาตาภริยาปุตตาปุตตีญาติกาขัตติย์วงสาทังหลายมวล ขอได้ยังผลอานิสงส์เสมอดั่งตัวข้านี้ชู่ตนชู่ฅนเทอะ...”13
คัมภีร์ธรรมภิกขุปาฏิโมกข์เจ้าหลวงนครไชยวงศา(พญามังไชย) จารถวายวัดศรีชุม เมืองนครแพร่ พ.ศ.๒๓๔๓ (ที่มา : ภัทรพงค์ เพาะปลูก) |
ทำให้ทราบว่าในช่วง พ.ศ.๒๓๔๓ พญามังไชยยังคงประทับอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และพระนามที่ทรงเขียนเองคือ “พระเมืองไชย” กับ “นครไชยวงศา” ซึ่งชื่อหลังมีการแปลงคำว่า “เมือง” ให้เป็นภาษาบาลีว่า “นคร”(นคระ)
สังเกตว่าพญามังไชยทรงเรียกพระนามตนเองว่า “พระเมืองไชย” หรือ “(พระยา)นครไชยวงศา” แทน “พระยาศรีสุริยวงศ์” ที่พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงแต่งตั้ง เป็นไปได้ว่าเมื่อผลัดแผ่นดินเป็นราชวงศ์จักรี รัชกาลที่ ๑ ทรงแต่งตั้งให้มีตำแหน่ง “พระเมืองไชย” หรือ “พระยานครไชยวงศา” ในระหว่างที่พญามังไชยยังประทับอยู่กรุงเทพมหานครอาจเสด็จขึ้นมาเยี่ยมอรรคราชเทวีราชบุตรราชธิดาและพระญาติวงศ์ พร้อมกับได้ทำบุญทานคัมภีร์ธรรมไว้วัดต่างๆ ในเมืองนครแพร่เป็นครั้งคราว ดังปรากฏในจารึกท้ายคัมภีร์ใบลาน จากหลักฐานนี้เชื้อสายของพญามังไชยน่าจะมีส่วนร่วมในการปกครองเมืองนครแพร่อยู่ไม่น้อย และพบว่ามีการสร้างความสัมพันธ์กับเชื้อสายของเจ้าหลวงแสนซ้ายผ่านทางการเสกสมรสอีกด้วย
ภายหลังพญามังไชยจึงได้กลับมาอยู่เมืองนครแพร่ ดังปรากฏจดหมายเหตุระบุพระนาม “พระยาแพร่เฒ่า” ร่วมกับ “พระยาแพร่(เจ้าน้อยอุปเสน)” แต่หลังจาก พ.ศ.๒๓๓๐ พญามังไชยเป็นเจ้าผู้ครองแพร่โดยตำแหน่งจางวาง เนื่องจากรัชกาลที่ ๑ ทรงได้รับรองแต่งตั้งให้ “พญาแสนซ้าย” เป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ ๒ ถัดมาแทนแล้ว สังเกตชื่อนามในพระราชพงศาวดาร เป็นนามตำแหน่งเดิมก่อนขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ทุกองค์ ดังนั้น “พญาแสนซ้าย” จึงเป็นตำแหน่งเดิมของล้านนา เมื่อสยามรับรองแต่งตั้งจึงได้รับยศเป็น “พระยาแสนซ้าย” เรียกตามแบบล้านนาว่า “เจ้าหลวงแสนซ้าย”
พระราชพงศาวดารระบุว่ารัชกาลที่ ๑ ทรงรับรองแต่งตั้ง สันนิษฐานว่าทรงขึ้นครองเมืองหลังจากพญามังไชยถูกกักตัวไว้ที่กรุงเทพมหานครใน พ.ศ.๒๓๓๐ เมื่อเจ้าหลวงแสนซ้ายทรงถึงแก่พิราลัย “พระเมืองไชย”(พระราชพงศาวดารเขียนตามการออกเสียงของล้านนาว่า “พระเมืองใจ”(ไจย)) ซึ่งเป็นชื่อตำแหน่งเจ้านายเมืองนครแพร่ตำแหน่งหนึ่ง เป็นราชบุตรของเจ้าหลวงแสนซ้ายขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ ๓ ต่อมา
ผู้ได้รับตำแหน่งพระเมืองไชยองค์นี้เมื่อเทียบลำดับเจ้าผู้ครองนครแพร่คือ “เจ้าน้อยอุปเสน” หรือ “เจ้าน้อยเทพวงศ์” และสอดคล้องกับบันทึกพับสาวัดดอยจำค่า ว่าเมื่อเจ้าหลวงอุปเสนทรงถึงแก่พิราลัย เจ้าหลวงอินทวิไชยผู้เป็นราชบุตรขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่แทน โดยเจ้าหลวงอินทวิไชยราชาเป็นราชนัดดา(หลานปู่)ของเจ้าหลวงแสนซ้าย
เมื่อได้ขึ้นครองนครแพร่ต่อจากเจ้าบิดาจึงเรียกว่า “เจ้าหลวงอุปเสน” หรือ “เจ้าหลวงเทพวงศ์” และด้วยทรงมีปิยวาจาจึงมีพระฉายาที่ชาวเมืองเรียกว่า “เจ้าหลวงลิ้นทอง”(ออกเสียง “เจ้าหลวงลิ้นตอง”) เจ้าหลวงอุปเสนได้เสกสมรสกับเจ้านางสุชาดาอรรคราชเทวี ราชธิดาของเจ้าหลวงนครไชยวงศา(พญามังไชย) เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ ๑15
สังเกตว่าพญามังไชยทรงเรียกพระนามตนเองว่า “พระเมืองไชย” หรือ “(พระยา)นครไชยวงศา” แทน “พระยาศรีสุริยวงศ์” ที่พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงแต่งตั้ง เป็นไปได้ว่าเมื่อผลัดแผ่นดินเป็นราชวงศ์จักรี รัชกาลที่ ๑ ทรงแต่งตั้งให้มีตำแหน่ง “พระเมืองไชย” หรือ “พระยานครไชยวงศา” ในระหว่างที่พญามังไชยยังประทับอยู่กรุงเทพมหานครอาจเสด็จขึ้นมาเยี่ยมอรรคราชเทวีราชบุตรราชธิดาและพระญาติวงศ์ พร้อมกับได้ทำบุญทานคัมภีร์ธรรมไว้วัดต่างๆ ในเมืองนครแพร่เป็นครั้งคราว ดังปรากฏในจารึกท้ายคัมภีร์ใบลาน จากหลักฐานนี้เชื้อสายของพญามังไชยน่าจะมีส่วนร่วมในการปกครองเมืองนครแพร่อยู่ไม่น้อย และพบว่ามีการสร้างความสัมพันธ์กับเชื้อสายของเจ้าหลวงแสนซ้ายผ่านทางการเสกสมรสอีกด้วย
ภายหลังพญามังไชยจึงได้กลับมาอยู่เมืองนครแพร่ ดังปรากฏจดหมายเหตุระบุพระนาม “พระยาแพร่เฒ่า” ร่วมกับ “พระยาแพร่(เจ้าน้อยอุปเสน)” แต่หลังจาก พ.ศ.๒๓๓๐ พญามังไชยเป็นเจ้าผู้ครองแพร่โดยตำแหน่งจางวาง เนื่องจากรัชกาลที่ ๑ ทรงได้รับรองแต่งตั้งให้ “พญาแสนซ้าย” เป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ ๒ ถัดมาแทนแล้ว สังเกตชื่อนามในพระราชพงศาวดาร เป็นนามตำแหน่งเดิมก่อนขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ทุกองค์ ดังนั้น “พญาแสนซ้าย” จึงเป็นตำแหน่งเดิมของล้านนา เมื่อสยามรับรองแต่งตั้งจึงได้รับยศเป็น “พระยาแสนซ้าย” เรียกตามแบบล้านนาว่า “เจ้าหลวงแสนซ้าย”
พระราชพงศาวดารระบุว่ารัชกาลที่ ๑ ทรงรับรองแต่งตั้ง สันนิษฐานว่าทรงขึ้นครองเมืองหลังจากพญามังไชยถูกกักตัวไว้ที่กรุงเทพมหานครใน พ.ศ.๒๓๓๐ เมื่อเจ้าหลวงแสนซ้ายทรงถึงแก่พิราลัย “พระเมืองไชย”(พระราชพงศาวดารเขียนตามการออกเสียงของล้านนาว่า “พระเมืองใจ”(ไจย)) ซึ่งเป็นชื่อตำแหน่งเจ้านายเมืองนครแพร่ตำแหน่งหนึ่ง เป็นราชบุตรของเจ้าหลวงแสนซ้ายขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ ๓ ต่อมา
ผู้ได้รับตำแหน่งพระเมืองไชยองค์นี้เมื่อเทียบลำดับเจ้าผู้ครองนครแพร่คือ “เจ้าน้อยอุปเสน” หรือ “เจ้าน้อยเทพวงศ์” และสอดคล้องกับบันทึกพับสาวัดดอยจำค่า ว่าเมื่อเจ้าหลวงอุปเสนทรงถึงแก่พิราลัย เจ้าหลวงอินทวิไชยผู้เป็นราชบุตรขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่แทน โดยเจ้าหลวงอินทวิไชยราชาเป็นราชนัดดา(หลานปู่)ของเจ้าหลวงแสนซ้าย
“...เจ้าหลวงลิ้นทองเสวยเมืองอยู่ได้ ๔๕ ปีเถิงสวัรคต ว่าง ๑ ปี เจ้าหลวงอินทวิไชยผู้เปนลูกขึ้นแทน...”14
เมื่อได้ขึ้นครองนครแพร่ต่อจากเจ้าบิดาจึงเรียกว่า “เจ้าหลวงอุปเสน” หรือ “เจ้าหลวงเทพวงศ์” และด้วยทรงมีปิยวาจาจึงมีพระฉายาที่ชาวเมืองเรียกว่า “เจ้าหลวงลิ้นทอง”(ออกเสียง “เจ้าหลวงลิ้นตอง”) เจ้าหลวงอุปเสนได้เสกสมรสกับเจ้านางสุชาดาอรรคราชเทวี ราชธิดาของเจ้าหลวงนครไชยวงศา(พญามังไชย) เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ ๑15
อีกทั้ง สอดรับกับจดหมายเหตุพระราชทานพระแสงปืนเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๘ ระบุว่าเจ้าหลวงอุปเสนเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่และเป็นราชบิดาของท้าวอินทวิไชยผู้เป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ต่อมา
แต่ตัวเลขจุลศักราชหมวดหมู่ในจดหมายเหตุอาจคลาดเคลื่อนเพราะช่วงนี้ (พ.ศ.๒๓๖๘) พระเจ้าดวงทิพย์ เป็นพระเจ้านครลำปางไม่ได้เป็น “พระยาลำปาง(พญาลคอร)” และในปี พ.ศ.๒๓๔๘ เจ้าบุญมาได้ขึ้นมาตั้งฟื้นฟูเมืองนครลำพูนแล้วไม่ได้อยู่ในเมืองนครลำปาง ดังนั้นเนื้อหาจดหมายเหตุช่วงเจ้าผู้ครองนครลำปางยังมียศเป็น “พระยา” และเจ้าบุญมายังอยู่เมืองนครลำปางจึงควรก่อน พ.ศ.๒๓๔๘ ซึ่งสอดคล้องกับลำดับเจ้าผู้ครองนครแพร่ เนื่องจากช่วงนี้เจ้าหลวงแสนซ้ายได้ทรงถึงแก่พิราลัยแล้ว เจ้าหลวงอุปเสนผู้เป็นราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองแทน ดังนั้น “พระยาแพร่เฒ่า” จึงหมายถึงเจ้าหลวงนครไชยวงศา(พญามังไชย)ที่ได้เสด็จกลับจากกรุงเทพมหานคร ขึ้นมาอยู่กับอรรคราชเทวีราชบุตรราชธิดาพระญาติวงศ์ในเมืองนครแพร่ (กลับขึ้นมาในช่วงหลังพ.ศ.๒๓๔๓ ถึงก่อนพ.ศ.๒๓๔๘)
ดังนั้นในสมัยเจ้าหลวงอุปเสนเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ จึงมีเจ้าผู้ครองนครแพร่เฒ่าอีกองค์หนึ่งเป็นเสมือนเจ้าหลวงจางวางช่วยเป็นที่ปรึกษาปกครองบ้านเมือง
“พญาแพร่เถ้า...หนอยอุปเสนเปนพญาแพร่...ทาวอินทวิไชบุตพญาแพร่...พญาลคอร...หม่อมบุญมา เมืองลคอร...”16
แต่ตัวเลขจุลศักราชหมวดหมู่ในจดหมายเหตุอาจคลาดเคลื่อนเพราะช่วงนี้ (พ.ศ.๒๓๖๘) พระเจ้าดวงทิพย์ เป็นพระเจ้านครลำปางไม่ได้เป็น “พระยาลำปาง(พญาลคอร)” และในปี พ.ศ.๒๓๔๘ เจ้าบุญมาได้ขึ้นมาตั้งฟื้นฟูเมืองนครลำพูนแล้วไม่ได้อยู่ในเมืองนครลำปาง ดังนั้นเนื้อหาจดหมายเหตุช่วงเจ้าผู้ครองนครลำปางยังมียศเป็น “พระยา” และเจ้าบุญมายังอยู่เมืองนครลำปางจึงควรก่อน พ.ศ.๒๓๔๘ ซึ่งสอดคล้องกับลำดับเจ้าผู้ครองนครแพร่ เนื่องจากช่วงนี้เจ้าหลวงแสนซ้ายได้ทรงถึงแก่พิราลัยแล้ว เจ้าหลวงอุปเสนผู้เป็นราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองแทน ดังนั้น “พระยาแพร่เฒ่า” จึงหมายถึงเจ้าหลวงนครไชยวงศา(พญามังไชย)ที่ได้เสด็จกลับจากกรุงเทพมหานคร ขึ้นมาอยู่กับอรรคราชเทวีราชบุตรราชธิดาพระญาติวงศ์ในเมืองนครแพร่ (กลับขึ้นมาในช่วงหลังพ.ศ.๒๓๔๓ ถึงก่อนพ.ศ.๒๓๔๘)
ดังนั้นในสมัยเจ้าหลวงอุปเสนเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ จึงมีเจ้าผู้ครองนครแพร่เฒ่าอีกองค์หนึ่งเป็นเสมือนเจ้าหลวงจางวางช่วยเป็นที่ปรึกษาปกครองบ้านเมือง
เมื่อเจ้าหลวงอุปเสนทรงถึงแก่พิราลัย ราชบุตรองค์ใหญ่ของเจ้าหลวงอุปเสนกับเจ้านางสุชาดาอรรคราชเทวีคือ “พระอินทวิไชย” หรือ “ท้าวอินทวิไชย” หรือทรงมีพระนามเดิมว่า “เจ้าน้อยอินทวิไชย” ประสูติเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๔ ได้ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ ๔ ใน พ.ศ.๒๓๕๙ ชนมายุ ๓๕ พรรษา ดังจากรึกวัดมหาโพธิ์ เมืองนครแพร่ พ.ศ.๒๓๘๖ จารึกไว้ว่า
“...พระกระสัตราธิราชท้าวตน ๑ ไส้ ท่านได้เกิดมาในราชตระกูล ท่านบุญมีจิ่งได้บวช พระสังฆเจ้าลวดใส่ปัญญัตติ...ชื่อว่าอินทวิไชย ท่านก็พ่ำเพงไปใจ้ๆ ตราบต่อเท้าได้ ๑๑๗๘ ตัว(พ.ศ.๒๓๕๙) ปีดับใกล้ อายุท่านได้ ๓๕ ปี ท่านก็ได้น้ำพุทธาภิเสก อติเรกนักหนา พระมหากระสัตราจิ่งตัดตราตั้งหื้อปรากฏเตื่อมแถมวรองค์ หื้อปรากฏว่าท่านให้ได้เปนเจ้าบ้านผ่านเมือง หื้อประกอบไปด้วยสินสักดิ์นามสักดิ์ ประกอบไปด้วยอายุ วัณณะ ในเมืองโกไสยธัชชพลวิไชยแพร่แก้วเมืองมูล...”17
จารึกเจ้าหลวงอินทวิไชยราชา เจ้านางสุพรรณวดีอรรคราชเทวี ราชบุตรราชธิดา
พร้อมพระญาติวงศ์ทรงสร้างวัดมหาโพธิ เมืองนครแพร่ พ.ศ.๒๓๘๖
(ที่มา : จารึกในจังหวัดแพร่)
|
ส่วนปีที่เจ้าหลวงอินทวิไชราชาทรงถึงแก่พิราลัยไม่ปรากฏ แต่สันนิษฐานจาก พ.ศ.๒๓๘๖ เจ้าหลวงอินทวิไชยราชายังทรงทำการฉลองวัดมหาโพธิ และ พ.ศ.๒๓๙๐ เจ้าหลวงอินทวิไชยราชายังได้ทรงร่วมกับครูบาเจ้ากัญจนอรัญวาสีมหาเถร วัดสูงเม่น บัญญัติกฎหมายอาชญาเจ้ามหาชีวิตและวินัย18
และเมื่อเทียบกับพระราชพงศาวดาร ระบุว่า มีการรับรองแต่งตั้งเจ้าหลวงพิมพิสารราชาขึ้นครองนครแพร่ในรัชกาลที่ ๓ (รัชกาลที่ ๓ ครองราชย์พ.ศ.๒๓๖๗ – ๒๓๙๓) และหากยึดตามบันทึกจากพับสาของวัดดอยจำค่าว่าเจ้าหลวงอินทวิไชยราชาเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ ๓๑ ปี (พ.ศ.๒๓๕๙ - ๒๓๙๐) ว่าง ๑ ปี (พ.ศ.๒๓๙๑) และเจ้าหลวงพิมพิสารราชาเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ ๓๘ ปี (พ.ศ.๒๓๙๑ – ๒๔๒๙)
ดังนั้น เจ้าหลวงอินทวิไชยราชาจึงทรงถึงแก่พิราลัย พ.ศ.๒๓๙๐ ชนมายุ ๖๖ พรรษา ด้วยเจ้าหลวงอินทวิไชยราชาทรงเสกสมรสกับเจ้านางสุพรรณวดีอรรคราชเทวี มีราชธิดา ๓ องค์ มีราชบุตร ๑ องค์คือเจ้าน้อยศรีวิไชย แต่ก็ทรงวายชนม์เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๘ (ส่วนราชธิดาอีก ๒ องค์ประสูติกับชายาองค์อื่น)19 ดังนั้นจึงเปิดโอกาสให้พระยาราชวงศ์(เจ้าพิมพิสาร) ที่มีศักดิ์เป็นเจ้าอาว(ลูกพี่ลูกน้องเจ้าบิดาของเจ้าหลวงอินทวิไชยราชา)ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ต่อมา
และเมื่อเทียบกับพระราชพงศาวดาร ระบุว่า มีการรับรองแต่งตั้งเจ้าหลวงพิมพิสารราชาขึ้นครองนครแพร่ในรัชกาลที่ ๓ (รัชกาลที่ ๓ ครองราชย์พ.ศ.๒๓๖๗ – ๒๓๙๓) และหากยึดตามบันทึกจากพับสาของวัดดอยจำค่าว่าเจ้าหลวงอินทวิไชยราชาเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ ๓๑ ปี (พ.ศ.๒๓๕๙ - ๒๓๙๐) ว่าง ๑ ปี (พ.ศ.๒๓๙๑) และเจ้าหลวงพิมพิสารราชาเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ ๓๘ ปี (พ.ศ.๒๓๙๑ – ๒๔๒๙)
ดังนั้น เจ้าหลวงอินทวิไชยราชาจึงทรงถึงแก่พิราลัย พ.ศ.๒๓๙๐ ชนมายุ ๖๖ พรรษา ด้วยเจ้าหลวงอินทวิไชยราชาทรงเสกสมรสกับเจ้านางสุพรรณวดีอรรคราชเทวี มีราชธิดา ๓ องค์ มีราชบุตร ๑ องค์คือเจ้าน้อยศรีวิไชย แต่ก็ทรงวายชนม์เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๘ (ส่วนราชธิดาอีก ๒ องค์ประสูติกับชายาองค์อื่น)19 ดังนั้นจึงเปิดโอกาสให้พระยาราชวงศ์(เจ้าพิมพิสาร) ที่มีศักดิ์เป็นเจ้าอาว(ลูกพี่ลูกน้องเจ้าบิดาของเจ้าหลวงอินทวิไชยราชา)ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ต่อมา
เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ ๕ ในช่วงเป็นประเทศราชของสยาม เจ้าหลวงพิมพิสารราชา ประสูติเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๔ เป็นราชบุตรของพระยาวังขวา(เจ้าวังขวา)กับเจ้านางผู้เป็นขนิษฐา(น้องสาว)ของเจ้าหลวงแสนซ้าย มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าหลวงอุปเสน(เจ้าน้อยเทพวงศ์) เจ้าผู้ครองนครแพร่ในช่วงเป็นประเทศราชของสยามองค์ที่ ๓
ส่วนพระยาวังขวาอาจมีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติกับเจ้าหลวงนครไชยวงศา(พญามังไชย)หรือเจ้าหลวงแสนซ้าย เจ้าพิมพิสารได้เป็นพระยาราชวงศ์ในสมัยเจ้าหลวงอินทวิไชยราชา ต่อมา พ.ศ.๒๓๙๐ ชนมายุ ๓๖ พรรษา รัชกาลที่ ๓ ทรงรับรองแต่งตั้งขึ้นเป็น “พระยาพิมพิสารราชา” หรือเรียกแบบล้านนาว่า “เจ้าหลวงพิมพิสารราชา” เจ้าผู้ครองนครแพร่ ด้วยทรงมีขาคดเล็กน้อยจึงมีพระฉายาว่า “เจ้าหลวงขาเค” หรือ “เจ้าหลวงแค่งแคะ” ทรงเสกสมรสกับเจ้านางแก้วไหลมาอรรคราชเทวี แต่ไม่มีราชบุตรราชธิดา และมีราชเทวีเท่าที่ปรากฏอีก ๒ องค์คือเจ้านางธิดา(มีราชธิดา ๓ องค์ ราชบุตร ๑ องค์) กับเจ้านางคำใย้(มีราชบุตร ๑ องค์) เจ้าหลวงพิมพิสารราชาทรงถึงแก่พิราลัยเวลาบ่าย ๕ โมง แรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีจอ พ.ศ.๒๔๒๙ ชนมายุ ๗๔ พรรษา20
ส่วนพระยาวังขวาอาจมีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติกับเจ้าหลวงนครไชยวงศา(พญามังไชย)หรือเจ้าหลวงแสนซ้าย เจ้าพิมพิสารได้เป็นพระยาราชวงศ์ในสมัยเจ้าหลวงอินทวิไชยราชา ต่อมา พ.ศ.๒๓๙๐ ชนมายุ ๓๖ พรรษา รัชกาลที่ ๓ ทรงรับรองแต่งตั้งขึ้นเป็น “พระยาพิมพิสารราชา” หรือเรียกแบบล้านนาว่า “เจ้าหลวงพิมพิสารราชา” เจ้าผู้ครองนครแพร่ ด้วยทรงมีขาคดเล็กน้อยจึงมีพระฉายาว่า “เจ้าหลวงขาเค” หรือ “เจ้าหลวงแค่งแคะ” ทรงเสกสมรสกับเจ้านางแก้วไหลมาอรรคราชเทวี แต่ไม่มีราชบุตรราชธิดา และมีราชเทวีเท่าที่ปรากฏอีก ๒ องค์คือเจ้านางธิดา(มีราชธิดา ๓ องค์ ราชบุตร ๑ องค์) กับเจ้านางคำใย้(มีราชบุตร ๑ องค์) เจ้าหลวงพิมพิสารราชาทรงถึงแก่พิราลัยเวลาบ่าย ๕ โมง แรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีจอ พ.ศ.๒๔๒๙ ชนมายุ ๗๔ พรรษา20
เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์
(ที่มา : ปกิณกะวัฒนธรรมจังหวัดแพร่)
|
ภายหลังเสกสมรสกับเจ้านางบัวไหล(พระธิดาพระยาไชยสงครามกับเจ้านางอิ่น(เมืองยอง), มีราชธิดา ๗ องค์ ราชบุตร ๑ องค์) เจ้านางบัวแก้ว(มีราชธิดา ๑ องค์) เจ้านางพระนัดดาเจ้าอุปราชเมืองนครหลวงพระบาง(มีราชบุตร ๑ องค์) หม่อมบัวคำ(มีราชบุตร ๑ องค์) หม่อมคำป้อ(มีราชธิดา ๑ องค์) หม่อมเที่ยง(มีราชธิดา ๒ องค์) และหม่อมไม่ทราบนาม(มีราชบุตร ๑ องค์)21 ในปีพ.ศ.๒๔๔๕ ได้เสด็จลี้ภัยทางการเมืองไปประทับอยู่เมืองนครหลวงพระบางจนถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ.๒๔๕๒ ชนมายุ ๗๓ พรรษา22
พระราชลัญจกร(ตราประจำตำแหน่ง) ของเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์
ด้านล่างสลักเป็นอักษรธรรมล้านนา “๑๒๔๗ นครเมืองแพร่”
จ.ศ.๑๒๔๗(พ.ศ.๒๔๒๘)คือปีที่ขึ้นรั้งเมือง
(ที่มา : เล่าเรื่องเมืองแพร่ในอดีต)
|
จากหลักฐานขณะนี้ิื จึงเรียงลำดับและช่วงเวลา ที่ทรงขึ้นครองเมืองของเจ้าผู้ครองนครแพร่สมัยเป็นประเทศราชของสยาม โดยผู้เขียนนับรวมตั้งแต่ปีเจ้าผู้ครองนครองค์ก่อนทรงถึงแก่พิราลัย และเจ้าผู้ครองนครองค์ใหม่ทรงขึ้นรั้งเมือง จนถึงได้รับการรับรองแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากกษัตริย์สยาม มีจำนวน ๖ องค์ ดังนี้
(๑) เจ้าหลวงนครไชยวงศา (เจ้าหลวงเมืองไชย) ก่อนพ.ศ.๒๓๐๙ – ๒๓๓๐ (ประมาณ ๒๑ ปี)
(๒) เจ้าหลวงแสนซ้าย พ.ศ.๒๓๓๐ – ก่อนพ.ศ.๒๓๔๘ (ประมาณ ๑๘ ปี)
(๓) เจ้าหลวงอุปเสน (เจ้าหลวงลิ้นทอง, เจ้าน้อยเทพวงศ์, ราชบุตร ๒ ราชบุตรเขย ๑) ก่อนพ.ศ.๒๓๔๘ - พ.ศ.๒๓๕๙ (ประมาณ ๑๑ ปี)
(๔) เจ้าหลวงอินทวิไชยราชา (เจ้าน้อยอินทวิไชย, ราชบุตร ๓) พ.ศ.๒๓๕๙ – ๒๓๙๐ (๓๑ ปี)
(๕) เจ้าหลวงพิมพิสารราชา (เจ้าหลวงขาเค, ลูกพี่ลูกน้อง ๓ ราชบุตรขนิษฐา ๒) พ.ศ.๒๓๙๐ – ๒๔๒๙ (๓๙ ปี)
(๖) เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ (เจ้าน้อยเทพวงศ์, ราชบุตร ๕) พ.ศ.๒๔๒๙ – ๒๔๔๕ (๑๖ ปี)
---------------------------------
เชิงอรรถ
1 พรรณเพ็ญ เครือไทย และคณะ, ประชุมจารึกล้านนา เล่ม ๙ จารึกในจังหวัดแพร่,(เชียงใหม่ : มิ่งเมือง, ๒๕๔๙), หน้า ๗๘.
2 พรรณเพ็ญ เครือไทย และคณะ, ประชุมจารึกล้านนา เล่ม ๙ จารึกในจังหวัดแพร่,(อ้างแล้ว), หน้า ๙๖ และ ๑๙๖.
3 จังหวัดแพร่, ที่ระลึกในคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรจังหวัดแพร่,(ธนบุรี : ประยูรวงศ์, ๒๕๐๑), หน้า ๑ และ ๑๒.
4 จังหวัดแพร่, ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดแพร่,(นนทบุรี : สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด, ๒๕๒๘), หน้า ๑๑๘ – ๑๒๐.
5 บดินทร์ กินาวงศ์, พญาเมืองใจ๋ วีรบุรุษผู้ถูกลืม,(เชียงใหม่ : มิ่งเมือง, ๒๕๔๗), หน้า ๑๒๘.
6 องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่,ประวัติศาสตร์เมืองแพร่ฉบับพ.ศ.๒๕๕๐,(แพร่: เมืองแพร่การพิมพ์, ๒๕๕๐),หน้า ๑๒๕ – ๑๒๖.
7 ภูเดช แสนสา(อ่าน), พับสาของพระสยาม สิริปญฺโญ สำนักสงฆ์พุทธบาทดอยธรรม(วัดดอยจำค่า) บ้านหาดลี่ ตำบลสบสาย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ อักษรธรรมล้านนา.
8 ทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี,พระยา, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๔,(กรุงเทพฯ : อมรินทร์, ๒๕๔๘), หน้า ๑๐๑.
9 จุลจักรพงษ์,พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า, ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม),(ม.ป.ท. : เดลิเมล์, ๒๔๘๐), หน้า ๓๘.
10 นฤมล ธีรวัฒน์(ผู้ชำระต้นฉบับ), พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์,(กรุงเทพฯ : อมรินทร์, ๒๕๓๙), หน้า ๙๘.
11 สรัสวดี อ๋องสกุล(ปริวรรต), พื้นเมืองเชียงแสน,(กรุงเทพฯ : อมรินทร์, ๒๕๔๖), หน้า ๒๔๓.
12 ภูเดช แสนสา(อ่าน), จารึกท้ายคัมภีร์ใบลานภวิรัตติ พ.ศ.๒๓๔๒ อ่านจากรูปภาพใบลานในองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่,ประวัติศาสตร์เมืองแพร่ฉบับพ.ศ.๒๕๕๐,(อ้างแล้ว),หน้า ๑๐๔.
13 ภูเดช แสนสา(อ่าน), จารึกท้ายคัมภีร์ใบลานภิกขุปาฏิโมกข์ วัดศรีชุม ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พ.ศ.๒๓๔๓ อักษรธรรมล้านนา สำรวจพบโดยนายภัทรพงค์ เพาะปลูก นายพุทธิคุณ ก่อกอง และนายทักษ์ วังสาร พ.ศ.๒๕๕๕.
14 ภูเดช แสนสา(อ่าน), พับสาของพระสยาม สิริปญฺโญ สำนักสงฆ์พุทธบาทดอยธรรม(วัดดอยจำค่า),(อ้างแล้ว).
15 ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม และวลัยลักษณ์ ทรงศิริ, นครแพร่จากอดีตมาปัจจุบัน,(กรุงเทพฯ : วิชรินทร์, ๒๕๕๑), หน้า ๗๓.
16 หวญ. ร.๓ เลขที่ ๑๘ บันชีจำนวนพระแสงปืนต้นจำหน่ายไปและคงหยู่ จ.ส.๑๑๘๗(พ.ส.๒๓๖๘)
17 พรรณเพ็ญ เครือไทย และคณะ, ประชุมจารึกล้านนา เล่ม ๙ จารึกในจังหวัดแพร่,(อ้างแล้ว), หน้า ๗๓.
18 องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่,ประวัติศาสตร์เมืองแพร่ฉบับพ.ศ.๒๕๕๐,(อ้างแล้ว),หน้า ๓๐๒.
19 พรรณเพ็ญ เครือไทย และคณะ, ประชุมจารึกล้านนา เล่ม ๙ จารึกในจังหวัดแพร่,(อ้างแล้ว), หน้า ๑๖๙.
20 เอกสารจดหมายเหตุ ร.๕ อ้างในวิฑิตพิพัฒนาภรณ์,พระครู, เล่าเรื่องเมืองแพร่ในอดีต,(ลำปาง : จิตวัฒนาการพิมพ์, ๒๕๔๘),หน้า ๑๑๓.
21 บัวผิว วงศ์พระถาง และคณะ,เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ ๔ สมัย,(แพร่ : แพร่ไทยอุตสาหการพิมพ์, ๒๕๓๗),หน้า ๓๓ – ๓๕.
22 องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่,ประวัติศาสตร์เมืองแพร่ฉบับพ.ศ.๒๕๕๐,(อ้างแล้ว),หน้า ๓๐๒.